
|







|
ตีพิมพ์ในนิตยสาร Aqua
โคโรโมะ ( Koromo )
ไม่รู้ว่าทุกครั้งที่โผล่หน้ามาทักทายใน Aqua
ดันเผลอบ่นพ่นพล่าม
เรื่องอากาศร้อนวิปริตผิดอาเพศ ไป
เข้าถึงหูเทวดาท่านหรือเปล่า ท่ามกลางอากาศร้อนสยองสุดๆ ท่านเลยมีเมตราโปรยพิรุณมาคลายร้อนอยู่เนืองๆ
พอช่วยบรรเทาความฮ็อตไปได้นิดๆ หน่อยๆ ขอบคุณหลายเด้อ..
อากาศฮ็อตๆ อย่างนี้ วงการปลาคาร์พบ้านเรา มีเรื่องฮ็อตๆ ออกมาเนืองๆ
เหมือนกัน ฮ็อตแรกข่าวใหญ่
กะเหรี่ยงไทยข้ามน้ำข้ามทะเล บุกไปคว้าถ้วยรางวัลใบใหญ่ในงาน All Japan
เย้ยยุ่นเจ้าถิ่นถึงแดนปลาดิบ
โดนกระเหรี่ยงไทยบุกไปหักซามูไรถึงถิ่นอย่างนี้ เล่นเอายุ่นค้อนตาขวับๆ
ฮ็อตต่อมาเป็นเรื่องต่อเนื่อง เพื่อเป็นการประกาศศักดาให้ชาวบ้านได้รับรู้ ว่าถ้วยรางวัลที่ได้มานั้น เป็น
ของแท้ไม่ใช่ถ้วยน้ำพริก เลยมีการจัดงานเลี้ยงฉลองกันเอกเกริก เชิญยุ่นระดับแนวหน้าของวงการมาร่วมรับ
รู้ฤิทธิเดชกระเหรี่ยงไทย
งานนี้ใช้ชื่อว่า Koi Summit in Paknumpo
จัดขึ้นที่นครสวรรค์ บ้านคุณโฟล์ค
คนดังของวงการปลาคาร์พเมืองไทย
เมื่อวันที่ 2-3 เมษายน
2548 ที่ผ่านมา
กระผมก็ได้รับเกียรติและมีส่วน
ร่วมในการประชุมจัดงานคราวนี้ด้วย
งานนี้ถือเป็นครั้งแรกที่เคยจัดขึ้นในเมืองไทย
และถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด
ก็จะจัดต่อไปทุกๆ ปีเป็นประเพณี
ถ้าหากว่ายังไปคว้ารางวัลมาได้นะ
ปิดท้ายด้วยเรื่องฮ็อตๆ
จากกรมประมง เพื่อเป็นการสกัดดาวรุ่งพุ่งแรง KHV.
ไม่ให้พุ่งกระฉูดกระฉอก
เลอะเปรอะเปื้อน
สร้างความเสียหายให้กับวงการปลาคาร์พไปกว่านี้
ก็เลยมีการออกตรวจตราหาเชื้อละเอียด
ยิบ
ลุยดะฉะไม่เลือกทุกฟาร์ม ประกาศเคอร์ฟิวสั่งห้ามเคลื่อนย้ายปลาออกนอกฟาร์มเป็นการชั่วคราว จนกว่า
จะได้รับอนุญาต ฮ็อตนี้เล่นเอาเจ้าของฟาร์มร้องฮือๆ เลยเจ้าค่ะ..
จบจากเรื่องของเขา
มาว่าเรื่องประเภทปลาคาร์พของเราต่อ คราวก่อนหน้าโน้นว่ากันถึงเรื่องซูซุย
หนึ่ง
ในสี่ของกลุ่มอาซากิ ฉบับนี้มาว่ากันต่อกับอีกหนึ่ง
"โคโรโมะ"
บางท่านก็เรียก "โกโรโมะ"
ว่ากันตามถนัดปาก
แต่ในที่นี้ผมขอเรียก
"โกโรโมะ" ก็แล้วกันครับ
- ที่ไปที่มา
กว่าจะเป็นโคโรโมะ
ต้นสายปลายทางที่มาของเจ้าคาร์พประเภทนี้ ยุ่นผู้สันทัดกรณีได้สาธยายไว้ ผมจำขี้ปากมาฝอยให้ฟัง
อีกที
ได้ใจความว่าโดยแท้ที่จริงนั้น มีการพบเห็นเจ้าโคโรโมะมานมนานกาเลแล้ว
ไม่ใช่ปลารุ่นหลังเพิ่งเกิด
อย่างที่เข้าใจกัน
สถานที่พบเจออยู่แถบๆ นิกาตะ แหล่งกำเนิดปลาคาร์พเจ้าเก่าขาประจำ
แต่ช้าก่อนโยม.. โก
โรโมะที่พบเห็นในยุคนั้น
มันคนละเรื่องกับโกโรโมะยุคนี้ โกโรโมะที่เห็นหน้าค่าตากันในปัจจุบัน
เป็นปลารุ่น
ใหม่ที่พัฒนาสายพันธุ์จนดูสวย ดูจ๊าบแล้ว
แต่กับโกโรโมะยุคแรกเริ่มมันไม่ใช่
มันยังเป็นอะไรที่ไม่ถูกใจโก๋มองดูแล้วไม่เข้าตากรรมการ
คือเป็นแต่
เพียงโคฮากุที่มีสีดำกระจัดกระจายแบบสั่วๆ เบลอๆ
อยู่บนฮิแพทเทินส์ และบริเวณหัว
สมัยนั้นไม่มีใครสนใจ
เห็นแล้วส่ายหัว พูดแบบเดียวกันเด๊ะว่า
นี่มันโคฮากุที่มีตำหนิ ปลาโหลยโท่ยนี่หว่า!!
น่าน..เป็นซะยังงั้นไป
แต่มันคงเป็นอย่างที่เขาว่า ลองคิดดูสิ ปลาที่มีสีดำเป็นจุดฝุ่น ฟุ้งกระจัดกระจาย
เหลื่อมๆ ไม่คมชัด
มองดูแล้วไม่น่าจะมีแววมยุราเป็นปลาสวยกับเค้าได้
บางท่านอาจแย้ง ฟังๆ ดูแล้วถ้ามันมี
สีดำอย่างที่ว่า
มันก็น่าจะจัดอยู่ในประเภทซันเก้ได้นี่นา? ไม่ใช่ครับ ไม่ใช่!
เอามามั่วนิ่มด้วยไม่ได้ขอบอก
สี
ดำหรือซูมิของซันเก้นั้น
เป็นสีดำที่เป็นจุดเป็นแต้ม เป็นดวงเป็นดอก
คมชัดสวยงามดูดีมีชาติตระกูลครับท่าน
แต่ที่กล่าวมามันจะออกไปในแนวโคฮากุขึ้นขี้กลาก,ขี้เกลื้อน,เรื้อน,สังคัง ดำแบบไม่เต็มใจดำซะมากกว่า
โกโรโมะที่พบเห็นในยุคแรกนั้น
สันนิษฐานว่าเกิดจากปลาคาร์พสีแดงที่ผสมกับมากอย ( มากอยเป็นปลา
คาร์พยุคแรก ที่ผ่าเหล่ามาจากปลาไนสีดำ )
ผสมกันเองแบบธรรมชาติ ส่วนโกโรโมะแท้ๆ หมายถึงโกโรโมะ
ยุคใหม่ที่แจ้งเกิดในวงการแล้ว
แม่สื่อเค้าจับคู่ให้ระหว่างปลาคาร์พที่มีฮิแพทเทินส์บนลำตัว
อย่างโคฮากุ,ซัน
เก้,โชว่า
กับอาซากิ อย่างที่ผมกล่าวไว้ตั้งแต่แรก
แต่ถ้าว่ากันตามความจริงแบบลงลึก อาซากิก็เป็นปลาที่ถือกำเนิดมาจากมากอย เป็นปลาที่มีสายเลือดชิด
กับมากอยมากๆ ชิดแบบญาติชั้นต้นๆ
เสียด้วยซ้ำ ถ้าเป็นอย่างนั้นโกโรโมะทั้งยุคใหม่ยุคเก่า
ต่างเป็นปลาที่สืบ
สายพันธุ์มาจากมากอยส่วนหนึ่งเหมือนกัน
แต่ไหงผลลัพธ์ที่ได้ถึงออกมาแตกต่างกันอย่างฟ้ากับดินอย่างนั้นล่ะ
โยม!
โกโรโมะยุคเก่าเค้าว่าออกจะเห่ย โกโรโมะปัจจุบันกับว่าสวยโดนใจ
อา..โลกช่างไร้ความยุติธรรมอะไร
เช่นนี้!
- รูปแบบ
พื้นฐานโคโรโมะ
ฝอยเรื่องที่มาซะยาวเป็นกิโล
แต่ลืมบอกไปซะฉิบว่าหน้าตามันเป็นยังไง
แล้วมือใหม่หัดขับจะนึกภาพ
ออกไหมเนี่ย!
เอาอย่างนี้ถ้ายังไม่รู้จัก ไม่เคยเห็นเจ้านี่
ลองนึกภาพตามผมบอก เอาโคฮากุมาตัวนึง หยิบภู่กัน
จุ่มหมึกดำ
แล้วค่อยๆ บรรจงแต้มไปที่ขอบเกล็ดสีแดง
ทีละเกล็ดๆ พยายามแต้มอย่าให้เต็มเกล็ด เน้นๆขอบๆ
เกล็ดเข้าไว้ และถ้าเป็นไปได้แต้มให้เหมือนกับโค้งเสี้ยวพระจันทร์จะยิ่งดีใหญ่
ทำให้ครบถ้วนทุกเกล็ดสีแดง
ที่ชิโรจิไม่ต้อง นั่นแหละใช่เลย..
อย่างนี้นี่แหละครับท่านที่เขาเรียกว่า "โกโรโมะ"
มองดูเผินๆ ดูคล้ายกับว่าเอาโคฮากุมาสวมเสื้อคลุมมั้ยเอ่ย?
พูดชี้นำอย่างนี้ก็จะบอกว่า "โคโรโมะ" ในภา
ษายุ่น
หมายถึงเสื้อคลุม
ถ้าใครเป็นแฟนละครยุ่นโดยเฉพาะละครแนวพีเรียด
จะคุ้นตากับเสื้อคลุมที่คนเมือง
นี้นิยมใส่ เป็นคำๆ
เดียวกับโกโรโมะนี่แหละครับ
จะว่าไปรูปแบบพื้นฐานของโกโรโมะมันก็โคฮากุดีๆ
นี่เอง มีชิโรจิเป็นพื้น ยิ่งขาวยิ่งดี ฮิแพทเทินส์เป็น
ลวดลาย
ยิ่งแดงยิ่งแจ๋ว เหมือนกับโคฮากุด้วยประการทั้งปวง
มีเพียงแต่สีดำที่ขอบเกล็ดเพิ่มขึ้นมาเท่านั้นเอง
อ้อ..ลืมบอกไป สังเกตดูให้ดีผมจะใช้คำว่า สีดำที่ขอบเกล็ดนะครับ ทั้งนี้ทั้งนั้นเพื่อจะเน้นว่าโคโรโมะที่ดีนั้น
ควรจะสีดำควรมีที่ขอบเกล็ดไม่ใช่ดำทั้งเกล็ด
ดำเฉพาะที่ขอบเกล็ดสร้างความคมชัด
ให้มุมมองที่โดดเด่นสะ
ดุดตา สวยในสไตล์ของโกโรโมะแท้ๆ
ยิ่งโค้งเป็นเสี้ยวพระจันทร์ตามรูปขอบเกล็ดได้ยิ่งแจ๋ว
เป็นที่ถูกอกถูก
ใจพระเดชพระคุณท่าน
จากที่กล่าวมาจึงเป็นที่รู้กันโดยถ้วนทั่วว่า
องค์ประกอบทุกสิ่งอย่างของโกโรโมะไม่ว่าจะเป็นในแง่มุมใด
ก็ตาม
ทั้งในเรื่องกลเม็ดเคล็ดลับในการพิจารณาเลือกซื้อ
เราสามารถเอาโคฮากุเป็นบรรทัดฐานได้เลย เพราะ
ยังไงๆ เสีย โกโรโมะมันก็มีพื้นฐานความเป็นมาในสายเลือดของมัน ครึ่งหนึ่งคือโคฮากุอยู่แล้ว ส่วนอีกครึ่ง
ที่ทำให้มันมีสีดำที่เกล็ดนั้น
ได้มาจากสายเลือดของมากอยที่ถ่ายทอดผ่านอาซากิมาอีกทอดนึง
รู้จักแต่เพียงเพียงคร่าวๆ ในเรื่องรูปแบบพื้นฐานของมันแต่เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ แล้วค่อยมาว่ากันแบบ
เจาะลึกอีกครั้งในเรื่องหัวข้อการเลือก
ถึงตอนนั้นมาดูกันว่า โกโรโมะที่ดีมีคุณค่านั้นดูกันอย่างไร
ปลาที่มีสีดำ
ขอเพียงสักแต่ว่ามี อย่างนี้เรียกว่าโกโรโมะได้หรือไม่ แล้วที่ดีควรมีดำมากน้อยเท่าไหน เอามาว่ากันอีกที
- ชนิดย่อย
ของโกโรโมะ
บอกกล่าวออกตัวตั้งแต่เมื่อกี้ว่า ทุกๆ อย่างของโคโรโมะอ้างอิงกับโคฮากุได้ไม่ขัดเขิน
ซึ่งรวมถึงชื่อเรียก
ชนิดย่อยของโคโรโมะด้วยเช่นกัน โคฮากุมี
นิดัง,ซันดัง,ยนดัง,โงดัง,อินาซึมะ
ฯลฯ โคโรโมะก็มี เพราะว่าทั้ง
สองเป็นปลาที่มีฮิแพทเทินส์เหมือนๆ กัน
ไม่ผิดกฏกติกามารยาทนะครับถ้าจะเรียก นิดังโกโรโมะ,ซันดังโกโร
โมะ
ไม่มีใครว่า ซึ่งเขาเรียกกันจริงๆ นั่นแหละ แต่มันจะผิดกฏกติกามารยาทมั่กๆ
กับจำนวนโควต้าหน้ากระ
ดาษที่ผมได้รับมา ดังนั้นผมคงไม่ดันทะลึ่งเอาเอาโกโรโมะดังกล่าวมาแนะนำอีก ขืนนำมาแนะนำซ้ำซ้อนซ้ำ
ซาก คงไม่ต้องทำมาหากินอย่างอื่นกันพอดี
เอาแบบชนิดหลักๆ สำคัญๆ แบบหาดูได้ทั่วไปดีกว่า
มีอยู่ไม่มาก
แต่ละชนิดมีความโดดเด่นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนกัน
มองปุ๊บรู้ปั๊บว่าอย่างนี้มีชื่อเรียกอย่างนี้ อย่างนั้น
มีชื่อว่าอย่างนั้น ที่สำคัญๆ มีดังนี้ครับ
ซูมิโกโรโมะ (Sumi Koromo)
อันนี้ต้องเอ่ยถึงเค้าก่อนเลย จากแรกที่กล่าวถึงที่มาของโกโรโมะยุค
แรกเริ่ม
ว่ายุคน้องๆโคฮากุ พบเจอแถบนิกาตะ
ตามบันทึกว่าไว้ว่าในกาลครั้งนั้นมันเป็นแค่เพียงโคฮากุ
ที่มีสี
ดำเลอะเทอะ กะจัดกะจายไร้รูปแบบ
เหมือนเอาเขม่าสีดำไปโรยไว้บนฮิแพทเทินส์ ไม่สะดุดตาสะดุดใจดัง
เช่นทุกวันนี้ มันคงดูขมุกขมัว
มอมแมม เหมือนลูกหมาตกน้ำเสียมากกว่าที่จะดูสวย
นั่นแหละครับท่านผู้อ่าน
ที่เคารพ โกโรโมะเห่ยๆ
ที่กล่าวนี้ มีรูปแบบที่ใกล้เคียงกับซูมิโกโรโมะยุคปัจจุบันมากที่สุด
อ่ะ..ถ้าอย่างนั้นก็หมายความว่าซูมิโคโรโมะ
เป็นปลาเห่ย! ห่วย! อย่างนั้นหรือ?
เปล่า..ใจเย็นโยม
ไม่ใช่
อย่างนั้น
ยุคสมัยมันเปลี่ยนไป อะไรๆ มันก็เปลี่ยนแปลง ซูมิโกโรโมะยุคใหม่ทันสมัยสไตล์เด็กแนว
ย่อมดูดี
จ๊าบ เท่ห์ กว่าก่อนเก่าแน่นอน
ของเก่ามันเป็นเหตุบังเอิญ ที่โคฮากุไปจ๊ะเอ๋กับมากอยแบบไม่ตั้งใจ
ในเมื่อของ
มันเกิดจากความไม่ตั้งใจ จะให้มันออกมาดูดี
สวยสะเด็ดสะเด่าทรวงคงเป็นไปได้ยาก
แต่โคโรโมะยุคพัฒนาแล้ว มันเป็นปลาที่สายพันธุ์นิ่ง
พ่อแม่มันโกโรโมะทั้งคู่ ความเคลียของสีดำบนฮิ
แพทเทินส์นั้นดูเนียนตาน่ามอง
ดูแล้วสบายตากว่ากันเยอะเลย ชื่อเรียก "ซูมิโกโรโมะ"
แปลตามศัพท์ก็คือ โก
โรโมะที่มีลายเกล็ดสีดำ
เป็นชื่อเรียกที่เกิดขึ้นในภายหลัง ที่มีการพัฒนาสายพันธุ์เข้าสู่โคโรโมะยุคใหม่แล้ว
เขาคงตั้งชื่อเรียกมันเพื่อให้รู้ว่า มันไม่ใช่โกโรโมะยุคเก่าอย่างนั้นละมั้ง เพราะว่าแต่ก่อนนั้นจะเรียกแต่เพียง
สั้นๆ ว่าโคโรโมะ
แต่ถึงแม้โกโรโมะยุคใหม่จะมีสีดำดูดีคมชัดขึ้น
มันก็ไม่คมชัดเท่ากับซันเก้ มันมีความแตกต่างกันอย่าง
ชัดเจนคือ ส่วนใหญ่สีดำของซูมิโกโรโมะจะไม่เต็มทั้งเกล็ด ถ้ามันขึ้นเต็มทั้งเกล็ดจะดูเป็นปื้นเป็นแถบ
อย่าง
นั้นมองลำบาก ว่าเป็นซันเก้หรือโคโรโมะ อ้อ..มีเรื่องสำคัญควรรู้อีกอย่าง
คืออาจจะมีนักเลี้ยงบางท่านเข้าใจ
ผิดคิดว่า รูปแบบของซูมิโกโรโมะคือโคโรโมะที่มีสีดำบริเวณหัว ถ้ามีสีดำที่หัวนั่นคือซูมิโคโรโมะ จากที่ได้
สอบถามผู้เชี่ยวชาญเรื่องปลาคาร์พชาวยุ่น ที่สันทัดกรณีเรื่องโกโรโมะเป็นพิเศษ ยุ่นกล่าวอย่างขึงขังจริงว่า
ไม่ใช่ ไม่จำเป็นเข้าใจผิด ซูมิโกโรโมะเป็นปลาที่มีสีดำขมุกขมัว
( อันนี้ผมพูดเอง ไม่รู้จะอธิบายว่ายังไง )
ไม่
คมชัดเป็นเสี้ยวโค้งวงพระจันทร์ อย่างโกโรโมะทั่วไปเท่านั้นเอง
ไม่จำเป็นเลยทีเดียวว่าต้องมีสีดำที่หัว
แต่ที่พบเห็นว่าซูมิโคโรโมะบางตัวมีสีดำที่บริเวณหัว
นั่นอาจจะเป็นเพราะว่าอาจจะยังมีสายเลือดของโก
โรโมะยุคเก่าปนเปอยู่
เพราะจากรูปแบบแล้วมันเป็นอะไรที่คล้ายกัน อย่างที่บอกไว้แต่แรกว่าโกโรโมะยุคเก่า
ที่พบเห็นที่นิกาตะ
ส่วนใหญ่นั้นจะมีสีดำปรากฏที่ส่วนหัวด้วย
สรุปเลยแล้วกันว่ารูปแบบซูมิโกโระโมะ เขาดู
ที่สีดำที่ฮิแพทเทินส์เป็นหลัก ไม่ใช่ดูจากสีดำที่หัวครับ
ไอโคโรโมะ
(Ai koromo)
คำว่า"ไอ"
ในความหมายของปลาคาร์พหมายถึงสีน้ำเงินคราม
คนละความ
หมายกับ ไอค็อกๆ แค๊กๆ ระคายคอ
ไออย่างนั้นแนะนำให้ไปซื้อยาชวนป๋วยปี่แป่กอตราลูกกตัญญูมากินซะ
รู้
แล้วว่า "ไอ" หมายถึงอะไร คงไม่ต้องบรรยายให้เยิ่นเย้อนะครับว่า ไอโกโรโมะเป็นปลาโคโรโมะที่มีสีน้ำเงิน
คราม
ไม่ใช่สีดำเหมือนกับซูมิโกโรโมะ
ทั้งสองอาจจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของสี
แต่ในความแตกต่าง
ทั้งสองกับมีความเหมือน ต่างเป็นโกโรโมะที่ไม่มีความคมชัดของสีดำที่เกล็ด
นอกจากไม่คมชัดแล้วยังฟุ้งกะ
จายไร้ความคมกริบเหมือนกัน
จะว่าเป็นพี่น้องคลานตามกันมาก็ว่าได้ แต่ถามว่าสวยมั้ย..
สวยครับสวย สวย
ตามแบบฉบับของมัน
ถ้าไม่สวยเขาจะเอามากล่าวถึงทำไมล่ะ
จุดต่างระหว่างซูมิกับไอ
พูดให้ง่าย อธิบายให้ชัดในสไตล์ผม ก็ต้องบอกว่า ซูมิโคโรโมะ
สวยแบบดำๆ
ขมุกขมัว มอมแมม เปรอะเปื้อนไม่มีรูปแบบ
ไอโคโรโมะสวยในสไตล์น้ำเงินครามเรื่อๆ
ลางๆ บางเบา เร้าอา
รมณ์
แต่ก่อนที่จะสาธยายเกี่ยวกับไอโคโรโมะไปมากกว่านี้
มาคุยกันให้รู้เรื่องเกี่ยวกับสีที่แท้จริงของเจ้าไอโค
โรโมะก่อนว่า
แท้ที่จริงมันเป็นสีดำหรือสีน้ำเงินครามกันแน่
ขอตอบอย่างนี้ครับ จากประสบการณ์การเลี้ยง
ปลาคาร์พมายี่สิบกว่าปี ผมเคยเห็นไอโคโรโมะที่มีสีน้ำเงินครามจริง และในตำราปลาคาร์พเกือบทุกเล่มก็มี
การยืนยันว่ามันเป็นสีนำเงินครามจริง
มีรูปถ่ายมายืนยันให้เห็นเป็นหลักฐาน
แต่คงเป็นส่วนน้อยเท่านั้นต้อง
ถือว่ามันเป็นกรณีพิเศษ
ในปัจจุบันอาจจะไม่มีหลงเหลือให้เห็นแล้วก็ได้ ยอมรับกันมั้ยล่ะครับ.. ว่าร้อยทั้งร้อย
ที่เราเรียกไอโคโรโมะกันทุกวันนี้ เป็นปลาที่มีสีดำบางๆ บนฮิแพทเทินส์ ไม่ใช่สีน้ำเงินครามจริงๆ ตามนิยาม
ไอ้สีดำบางๆ จางๆ
นี่แหละถ้ามองเผินมันก็ดูหลอกตาคล้ายสีน้ำเงินครามได้เหมือนกัน
คงขึ้นอยู่กับสายตาของ
แต่ละบุคคลด้วย แต่ละคนมองไม่เหมือนกัน อย่างผมมองผมว่ามันเป็นสีดำเรื่อๆ
บางๆ มากกว่า แต่บางท่าน
มองเป็นสีน้ำเงินคราม
เหมือนกับสีอาซากิ บางท่านว่าเป็นสีฟ้า
บางท่านก็ว่าสีเทาดำ สรุปว่าอย่าไปซีเรียสกับ
มันดีกว่า
เรียกๆ
ตามเขาไปก็สิ้นเรื่องง่ายดี
จากอดีตจนถึงปัจจุบันเท่าที่มีการเพาะโคโรโมะออกมา
จะมีไอโคโรโมะอยู่หลักๆ สามสาย คือ หนึ่งสาย
ที่เป็นไอโกโรโมะแท้ๆ
สายนี้ตั้งแต่เล็กจนโต เคยเป็นสีดำจางเบาบาง ที่หลายๆ
คนมองว่าเป็นสีครามอย่างที่
บอก
เคยเป็นอย่างไรตั้งแต่เล็กจนกระทั่งโตก็ไม่เปลี่ยนแปลง ยังคงดำเจือจางอยู่อย่างนั้น แต่ที่ได้ฟังฟังยุ่น
บอกมา
เจ้าไอโคโรโมะสายนี้นับวันจะยิ่งน้อยลงๆ ทุกที
ที่ญี่ปุ่นเองมีเพียงไม่กี่ฟาร์มเท่านั้นที่ยังเพาะสายนี้อยู่
คาดการณ์ว่าคงสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้นี้ ด้วยว่าความนิยมต่อโคโรโมะที่มีขอบเกล็ดสีดำคมกริบดังเสี้ยว
เสี้ยวพระจันทร์ มาแรงเหลือหลายแซงทิ้งห่างไอโคโรโมะกระจุยไม่เห็นฝุ่น
อย่าว่าแต่ที่แดนปลาดิบเลยกระ
กระเหรี่ยงไทยอย่างเราๆ ท่านๆ เวลาเลือกซื้อโกโรโมะทีไร เห็นร่ำร้องจะเอาแต่ชัดๆ
คมๆ กันทั้งนั้น จริง
ไหมมั้ยล่ะครับท่านผู้ชม
อีกสายนึง
สายนี้ต้องบอกว่าเป็นสายผีเข้าผีออก
คือมันจะคงลักษณะความเป็นไอไว้ที่ขณะยังเป็นปลาเล็ก
พอโตเป็นผู้ใหญ่เริ่มใจแตก จากไอน้อยๆ เบาๆ ก็เริ่มไอแค๊กๆ
ไอกะด๊อกกะแด๊ก ไอโขลกๆ แล้วก็เป็นวัณโรค
ตายชักไปเลย แฮ่ะๆ ล้อเล่น จากไอโคโรโมะในวัยเด็กก็จะกลายพันธุ์เป็นซูมิโกโรโมะไปในที่สุด ส่วนใหญ่ที่
พบเห็นมักจะเป็นอย่างนี้เสียด้วยสิ อย่างรูปที่ผมสรรหานำมาประกอบ มีบางตัวที่เล็กๆ
เจ้าของยืนยัน นอน
ยืน ตะแคงยัน ว่าเล็กๆ มันเป็นไอโคโรโมะสีน้ำเงินครามตามนิยาม ท้ายสุดไม่วายกลายเป็นโกโรโมะสีดำไป
จนได้
ขึ้นต้นเป็นลำไม้ไผ่ แต่ลงท้ายเป็นบ้องกัญชา ตาละลา..
สายที่สาม
อันนี้เป็นพวกขึ้นต้นเป็นลำไม้ไผ่ แต่ลงท้ายเป็นโกโรโมะธรรมดา
เชิ๊บ..เชิ๊บ โคโรโมะธรรม
ดาก็คือโกโรโมะที่มีขอบเกล็ดสีดำ
คมชัด คมกริบเป็นเสี้ยวพระจันทร์ ส่วนจะข้างขึ้นข้างแรมก็ว่ากันไปตาม
สภาพ โกโรโมะสายนี้เป็นสายยอดนิยมที่นักเพาะพันธ์ปลาชาวยุ่นผลิตออกมาป้อนตลาด
ด้วยเป็นที่ต้องการ
ของนักเลี้ยงเหลือหลาย
ว่ากันว่าเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ของโกโรโมะแจ่มๆ จ๊าบๆ
ขอบเกล็ดโค้งเสี้ยวพระจันทร์
ถือกำเนิดมาจากไอโกโรโมะในตอนเล็กทั้งนั้น
โกโรโมะสายพันธุ์นิ่งสายนี้ถูกเพาะขึ้นในราวๆ ปี 1950
บูโดโคโรโมะ ( Budo Koromo )
อีกหนึ่งโกโรโมะที่บรรดานักเลี้ยงลงคะแนนเสียง
ว่ามีความงาม
ต้องตาต้องใจในระดับหัวแถว ถ้าเปรียบความนิยมเป็นกับการแข่งขันวิ่งร้อยเมตร บูโดโกโรโมะอาจจะซอย
เท้าแซงเข้าเส้นชัย นำหน้าคู่แข่งอยู่ประมาณครึ่งขนหน้าแข้ง
ชั่วโมงนี้ต้องยอมรับโดยไม่มีข้อโต้แย้งว่าแรง
สปีดเขาแรงเหลือล้น
ใครๆ ล้วนอยากมีไว้เตะตาในบ่อสักตัว
สมมุติว่าถ้าในบ่อสามารถเลี้ยงโกโรโมะได้มาก
กว่าหนึ่งตัว
หนึ่งในนั้นต้องเป็นบูโดโคโรโมะชัวร์ป้าด รับรองได้
โทนสีความสวยงามของเจ้านี่แปลกแหวกแนว มีสไตล์เฉพาะตัว
เอาไปหย่อนลงบ่ออีกตัวก็ไม่ไปซ้ำซาก
ซ้ำซ้อนกับโคโรโมะอื่น
จ้าวแห่งบ่ออย่างโคฮากุ,โชว่า ,ซันเก้
ที่ว่าแน่ แบบว่าจะขาดเสียไม่ได้ในบ่อ ถ้าเลี้ยง
เยอะมีหมดทั้ง นิดัง,ซันดัง,ยนดัง,โงดัง
อาจจะเกิดความซ้ำซากซ้ำซ้อนรำคาญลูกตา กับโคโรโมะสักสองตัว
ตัวนึงบางเบาเร้าอารมณ์อย่างไอ กับแดงเข้มอมม่วงกระชากใจอย่างบูโด
อยู่ในบ่อเดียวกันดูแล้วไม่น่าเกลียด
แต่ประการใด รับรอง..
อ้าว..พระเดชพระคุณท่าน
โม้มาซะหนึ่งย่อหน้าเต็ม ดันทะลึ่งลืมบอกลักษณะของบูโดไปเสียฉิบ
แล้ว
มันจะสื่อสารกันรู้เรื่องมั้ยเนี่ย.. ถ้าถามว่าอะไรคือบูโด บูโดคืออะไร
ตอบไม่ยากไม่ลำบากเกินกำลังจินตนาการ
ลองนึกถึงพวงองุ่นแดงที่ใช้ทำไวน์
เปรี้ยวปากหน้าตึงขึ้นมาทันทีเลยใช่มั้ยล่ะ ฮ่ะๆ เปล่า..เปล่าชวนมากินไวน์
จะให้นึกถึงสีผลองุ่น สีแดงอมม่วงอย่างนี้แหละ คือนิยามสีของบูโดโกโรโมะดั้งเดิมออริจินอล
ยุ่นเรียกโกโร
โมะที่มีสีแดงอมม่วงว่า บูโดโคโรโมะ
เพราะว่า"บูโด" หมายถึงสีแดงองุ่น
เน้นย้ำว่าต้องเป็นองุ่นแดงแบบไม่
มีเมล็ดกิโลละเป็นร้อยด้วยนะ
องุ่นเขียวกิโลละสิบอย่างนั้นไม่ใช่ และถ้าจะให้ออริจินอลแบบสุดๆ
ไปเลย ยุ่น
บอกว่าบูโดโกโรโมะ ถ้าจะให้เจ๋งให้แจ๋วจริง
ต้องมีลวดลายฮิแพทเทินส์คล้ายพวงองุ่น
เหมือนแค่เม็ดเดียวก็
ไม่ได้ ต้องเป็นพวง
แบบว่าถ้าเข้ามาใกล้หยิบเข้าปากเคี้ยวได้เลย
แต่ปัจจุบันนั้นไซร้ บูโดโกโรโมะแท้ๆ แดงอมม่วงเหมือนพวงองุ่นนั้นคงจะหาทำยายาก
ร้อยวันพันปีจะ
แพลมมาให้เห็นหน้าสักตัว ที่เห็นกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
หาง่ายพอๆ กับปลาช่อนในตลาดสด จะออกมาในแนว
สีแดงเข้มอมดำอมน้ำตาล อะไรที่ออกในแนวแดงเข้มๆ รวมเรียกว่าบูโดโกโรโมะหมด
ผมสังเกตเอาจากใน
นิตยสาร และปลาที่เหิรข้ามฟ้าข้ามทะเลไปนำเข้ามาจากแดนปลาดิบ โดยเฉพาะปลาแถบๆ
นิกาตะ ปัจจุบัน
ออกมาในโทนสีนี้หมดเลย
ไม่เห็นมีโทนแดงอมม่วงเหมือนพวงองุ่นให้เห็น สอบถามยุ่นผู้สันทัดกรณีคนเดิม
ได้ความรู้เพิ่มเติมว่า ปัจจุบันบูโดโคโรโมะที่มีสีโทนสีแดงอมดำ เป็นปลาที่มีความนิ่งของสายพันธุ์มากกว่า
โทนสีแดงออมม่วงแบบดั้งเดิมเสียอีก
ไอ้ที่แดงอมม่วงเหมือนพวงองุ่น ถูกจับไปทำไวน์แดงหมดแล้วครับ
โคโรโมะซันโชกุ
( Koromo Sanshoku
) ภาษาอังกฤษสะกดว่าซันโชกุ
แต่ผมอนุญาตเรียกซันเก้นะ
ครับ ถนัดหูถนัดปากมากกว่า
ที่จริงว่าจะไม่เอ่ยถึงมัน แต่ก็อดไม่ได้
ประมาณว่าถ้าไม่ได้โม้ไม่ได้ฝอยให้ฟัง
เก็บไว้คนเดียวมันรู้สึกอืดเฟ้อ
เรอเหม็นเปรี้ยวชอบกล
โกโรโมะเป็นลูกผสมของอาซากิ
รูปแบบทั่วไปเป็นปลาที่มีขอบเกล็ดสีดำที่ฮิแพทเทินส์ แต่ถ้ามีซูมิเป็น
กลุ่มเป็นก้อนอยู่บนชิโรจิด้วย
อย่างนี้ก็ต้องเรียกว่าโกโรโมะซันเก้ตามระเบียบ
ไม่ต้องบรรยายให้มากกว่านี้นะ
ครับ
เชื่อว่ามือใหม่หัดขับมองปุ๊บต้องรู้ปั๊บว่าเป็นโกโรโมะซันเก้ ถ้าบอกว่าไม่รู้จักเรียกชื่อไม่ถูกก็ไม่รู้จะว่ายัง
ไงแล้ว
มองยังไงๆ มันก็เข้าตำราวัดครึ่งนึง กรมการครึ่งนึง โกโรโมะครึ่งนึง
ซันเก้ครึ่งนึง ชัดๆ ชัวร์ๆ
ฝืน
ไปเรียกอย่างอื่นเดี๋ยวแม่ตบตายชัก!
โกโรโมะซันเก้บางตัวอาจมีซูมิทั้งบนฮิแพทเทินส์ละบนชิโรจิ ไม่ใช่เรื่องแปลก เหมือนๆ กับฟุดซือซัน
ซันเก้ อาจจะนึกสงสัยว่าทำไมไม่ค่อยมีใครพูดถึงโกโรโมะชนิดนี้เลย
ไม่รู้จะตอบยังไงเหมือนกัน ลองถาม
ตัวเองดูก็แล้วกัน ว่าชอบซันเก้ที่เป็นซันเก้แท้ๆ
ชอบโกโรโมะที่เป็นโกโรโมะจริงๆ หรือเปล่า ถ้าชอบแบบจะๆ
แจ่มๆ
ชัดๆไปเลย ก้ำกึ่งคาบลูกคาบดอกอย่างนี้คงไม่สะใจโก๋นัก
แต่ถ้าเป็นสาวลูกครึ่งอันนี้ค่อยมาว่ากันอีกที
แฮ่ะๆ โกโรโมะครึ่งลูก เอ๊ย!
ลูกครึ่งอย่างนี้
ผมว่ามันจะเหมาะเจาะมากกับท่านที่มีบ่อเล็กๆ
แต่อยากเลี้ยงให้
ให้ครบทุกประเภท เล่นแบบทูอินวันอย่างนี้
ทุ่นพื้นที่บ่อไปได้อักโขเชียวล่ะพ่อคุณ..
โคโรโมะโชว่า
( Koromo Showa )
ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว พูดถึงโคโรโมะซันเก้แล้วจะไม่พูดถึงโคโร
โมะโชว่าได้อย่างไร
เดี๋ยวก็จะหาว่าลำเอียงไม่มีความยุติธรรมในใจ
เอาสักนิดพอหอมปากหอมคอ รูปแบบ
ที่มาของมันไม่ต้องพูดถึง
มีสีดำแถบอูจึริชัวร์ป้าด..
เป็นลูกผสมของโชว่าชัวร์ป้าดอีกเหมือนกัน ถ้าผสมกับ
ปลาอื่นเค้าคงไม่เรียกโกโรโมะโชว่าหรอกจริงมั้ย
ประเด็นสำคัญที่อยากให้คำนึงถึงเกี่ยวกับเจ้าโกโรโมะชนิดนี้
ฟังจากชื่อนะครับ เขาเน้นๆ ชัดๆ เน้นแบบ
ทิ้งน้ำหนักเลยว่า "โคโรโมะโชว่า"
ฉะนั้นโกโรโมะโชว่าก็คือโคโรโมะโชว่า ต้องไม่ใช่โชว่าที่ลายคล้ายโกโร
โมะ
เราต้องให้ความสำคัญของโกโรโมะมากกว่าโชว่า
ชื่อมันฟ้องอยู่โทนโท่ชัดเจนอยู่แล้วว่าอะไรนำหน้าอะ
ไรตามหลัง ต้องรู้ว่าอะไรเป็นหลักอะไรเป็นรอง
เปรียบเสมือนขับรถต้องรู้ว่าถนนไหนสายเอกสายโท
ตะบึง
บึงห้อฝ่าอย่างเดียว ระวังจะเดี้ยงเอาง่ายๆ
แล้วจะหาว่าไม่เตือน
อา..ขึ้นไตเติ้ลซะยาว
แทบหาทางกลับไม่เจอ คืออย่างนี้ครับ มันมีโชว่าบางตัวที่สีดำขึ้นไปเลอะเทอะอยู่
บนฮิแพทเทินส์ ยิ่งถ้าเป็นดำลางๆ
ไม่ชัดอย่างโบเก้โชว่าด้วยแล้วยิ่งไปกันใหญ่ กลัวว่ามือใหม่หัดขับที่ยังไม่
ชำนาญทาง
ผ่านสมรภูมิมาน้อยจะหลงทางผิดคิดว่าเป็นโคโรโมะโชว่า
โปรดใช้สะดือตรองด้วยความระมัด
ระวัง นี่คือคำเตือน!
ท่องไว้ในใจโกโรโมะโชว่าคือ โกโรโมะที่มีแถบดำอูจึริ
แต่กระนั้นมันต้องคงเอกลักษณ์
ของโกโรโมะไว้อย่างเหนียวแน่น ต้องมีขอบเกล็ดสีดำบนฮิแพทเทินส์เป็นประการสำคัญ แถบดำอูจึริให้เป็น
เรื่องรอง
มีแค่พอให้เรียกว่าโกโรโมะโชว่าเท่านั้นพอ อย่าไปซีเรียสกับมันมาก
ถ้าอยากเน้นแถบดำอูจึริมากๆ
ประมาณว่าจะลงแดงตายเสียให้ได้ถ้าไม่มีเธอ แนะนำว่าให้เลี้ยงโชว่าซะเลย ให้รู้แล้วรู้แร่ด!!
เอาล่ะ..ว่ากันมานานอักโข ต้องได้ฤกษ์โบกมือลากันเสียที หวังว่าอย่างน้อยที่สุดที่พล่ามจนน้ำลายหนืด
คงรู้นะครับว่าโกโรโมะหน้าตามันเป็นยังไง
มีชนิดไหนบ้างที่ได้รับการตอบรับจากบรรดามิตรรักแฟนเพลง
ส่วนชนิดอื่นๆ ที่บรรดาแม่ยกบอกว่าหายากไม่ค่อยฮ็อตฮิต ก็ไม่ขอนำมากล่าวให้เปลืองหน้ากระดาษ ฝากปิด
ท้ายแบบเน้นย้ำก่อนจากอีกครั้ง
ถึงเรื่องขอบเกล็ดสีดำ ที่ผมพูดบ่อยๆ
ขอบอกว่ามันเป็นลักษณะของโกโรโมะ
ที่ดี
แต่ในความจริงจะหาได้ตามนี้หรือเปล่านั้นอีกเรื่องนึง ขอกระซิบบอกไว้เลยว่า หาให้ตายหาจนหนวด
หงอกนั่นแหละ
กว่าจะเจอสักตัว เอาแค่พอประมาณก็พอแล้วมั้ง
มัวแต่ไปเน้นหาแจ๋วๆ ตามนิยาม คงไม่ต้อง
เลี้ยงกันพอดี
เอาไว้พบกันใหม่ฉบับหน้ากับ
"โงชิกิ"
ปลาคาร์พประเภทสุดท้ายในกลุ่มอาซากิครับ
<<End>> |
|
<<<
กรุณาชมเวบนี้ด้วย Explorer
Browser พบข้อผิดพลาด -
ต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับปลาคาร์พเพิ่มเติม
โทร 081-4598555 นายรัน >>> |
|