ตีพิมพ์ในนิตยสาร AQUA
       หากเปรียบวงการปลาคาร์พเป็นดั่งเช่นถนน    เปรียบนัก
เลี้ยงดังรถราที่สัญจรผ่านเข้าไปมา นับจากจุดเริ่มต้นถึงปัจจุบัน
คงมากมายสุดคณานับ  ทั้งหลายทั้งสิ้นล้วนแต่ผ่านมาแล้วผ่าน
ไป  หาได้มีสิ่งใดที่จะตราตรึงให้กล่าวถึงไม่
        วงการปลาคาร์พก็เช่นกันมากหน้าหลายตาที่แวะเวียนเข้า
มาแล้วผ่านเลยไป
         แต่น้อยในหนึ่งนั้น   ยังมีที่เข้ามาอยู่อย่างถาวรและสร้าง
เกียรติยศให้ผู้คนได้กล่าวขานถึง  หนึ่งในนั้นคือคุณปูชายหนุ่ม
ที่เพิ่งเข้าสู่เส้นทางสายปลาคาร์พ     แต่กลับสร้างเกียรติยศให้
กับตัวเอง    โดยเป็นถึงเจ้าของรางวัลแกรนด์แชมเปี้ยนอันทรง
เกียรติ  ในงานประกวดปลาคาร์พครั้งล่าสุดที่ผ่านมาเข้ามาสัม
ผัสรู้จักเขาคนนี้ด้วยกันครับ
       – ความเป็นมาในการเลี้ยงปลาคาร์พ   อะไรเป็นแรงบันบัน
  ดาลใจให้เลี้ยงปลาคาร์พ
        คุณปู – จริงๆ แล้วเมื่อก่อนผมเลี้ยง ปลาทอง,ปลากัด,ปลา
  มังกรมาก่อน  ผมเองเป็นคนชอบปลามากๆ เมื่อสมัยตอนเด็กๆ
  เพื่อนแถวบ้านรุ่นเดียวกันมีไม่กี่คน  เลยต้องซื้อปลามาเลี้ยงเป็น
  เพื่อนแก้เหงา
        ส่วนแรงบันดาลใจที่เลี้ยงปลาคาร์พก็คือการที่ต้องเอาปลา
  ไปใส่ในอ่างบัวขนาดใหญ่ที่บ้าน  ไปซื้อที่ร้านขายปลาก็เลยได้
  ปลาคาร์พมา 3 ตัว   แต่เจ้าของร้านบอกว่าเอาเลี้ยงในที่แคบๆ
  แบบนั้นไม่ได้   ต้องสร้างบ่อให้มันอยู่และที่สำคัญต้องมีระบบ
  บ่อกรองด้วย
        ผมถามว่าต้องทำอย่างไรบ้าง   เจ้าของร้านจึงนัดไปเจอที่
  บ้านของเขาเองเพื่อไปดูบ่อ   เมื่อได้เห็นบ่อของเขาแล้วผมเลย
  ตัดสินใจเลยว่าจะทำบ่อเลี้ยงปลาคาร์พ    และให้เขาตีราคาค่า
  ก่อสร้าง   และนี่ก็คือจุดเริ่มต้นของผม
  
      - บ่อที่เลี้ยงในปัจจุบันเป็นบ่อแรกที่สร้าง  หรือว่าก่อนหน้า
  นั้นไม่ได้เลี้ยงในบ่อนี้
        คุณปู – จากบ่อแรกที่เริ่มเลี้ยงจนมาถึงบ่อปัจจุบัน  เป็นบ่อ
  ที่ 3 แล้วครับ  ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ได้ทุบบ่อไปครั้งนึงแล้ว   เพราะ
  บ่อเดิมที่สร้างไว้มีความลึกเพียง 75 ซ.ม.  แต่ว่าปลาที่เลี้ยงไว้
  มีขนาดถึง 70-75 ซ.ม.
        ผมเห็นว่าเวลาที่ปลากินอาหาร  มันจะกินลำบากมากถ้าบ่อ
  มีความลึกเท่ากับความยาวของปลา   ผมจึงทุบบ่อทำใหม่ให้มี
  ความลึก 2 .1 เมตร   เป็นบ่อขนาด 54 ตัน
 
       - ใครเป็นคนออกแบบ   ทำไม่จึงทำเป็นบ่อฟรีฟอร์มไม่ทำ
  ไม่ทำเป็นบ่อสี่เหลี่ยมอย่างที่เห็นทั่วไป
        คุณปู - จริงแล้วที่บ่อเป็นรูปแบบนี้เพราะข้อจำกัดเรื่องพื้น
  พื้นที่ครับ
  
      - ความลึกของน้ำมีผลต่อโครงสร้างปลาหรือไม่อย่างไหน
  เลี้ยงปลาได้ดีกว่ากัน
        คุณปู - จากที่ได้ทำการศึกษาหาข้อมูลมา   บ่อควรมีความ
  ลึกอยู่ที่ 1.5-2.0 เมตร   และต้องมีที่ตื้นให้ปลาได้พักด้วย  ถ้า
  ถามว่าบ่อลึกหรือตื้นอย่างไหนดีกว่ากัน  ผมขอตอบแบบนี้ครับ
  บ่อควรมีความลึกระหว่าง 1.5-2.0 เมตร   ความลึกจะช่วยใน
  ช่วยในเรื่องของรูปร่างปลาเป็นอย่างมาก  บ่อเก่าผมมีความลึก
  เพียง 0.7 เมตร  ปลาที่เลี้ยงรูปร่างไม่ค่อยดีเท่าที่ควร  แต่เมื่อ
  ได้มาอยู่บ่อใหม่ซึ่งทั้งลึกและใหญ่กว่าเดิม  ทำให้ปลาสามารถ
  แสดงศักยภาพของโครงสร้างออกมาได้อย่างเต็มที่
       
- เริ่มจากปลาระดับไหนและปัจจุบันนี้เลี้ยงปลาระดับไหน
       
คุณปู – เริ่มแรกเลี้ยงปลาไทยครับ  เนื่องจากยังไม่มีความ
  รู้เลยลองเลี้ยงดูก่อน  แล้วหลังจากนั้นได้มีการพัฒนาเปลี่ยนมา
  เลี้ยงปลาจากญี่ปุ่น  เริ่มจากปลล tosai  แล้วตอนหลังก็เปลี่ยน
  มาเลี้ยง nisai  ซึ่งคุณภาพจะแน่นอนกว่า tosai  ซึ่งเมื่อก่อน
  ซื้อ tosai มาส่วนใหญ่เป็นตัวผู้   ซึ่งรูปร่างจะสู้ปลาตัวเมียไม่
  ได้   ผมอยากจะเลี้ยงปลาให้ได้ไซส์จัมโบ้เลยต้องมาเลือกเลี้ยง
  ปลา nisai
       
- ปลาจากญี่ปุ่นที่เลี้ยงอยู่มีของฟาร์มไหนบ้าง
        คุณปู -
ปัจจุบันนี้ผมเลี้ยงปลาของฟาร์ม SAKAI  เท่านั้น
ครับ
       
- เหตุผลที่ชอบปลาซาไกเพราะอะไร
        คุณปู –
เพราะว่าจากที่ผมเคยซื้อปลาจากหลายฟาร์ม  ผม
  ชอบรูปร่างปลาของซาไกมากที่สุด  ส่วนใหญ่ปลาของฟาร์มนี้
  ที่เกิดจากพ่อแม่ที่มีชื่อ   สามารถเลี้ยงให้ได้ขนาดเกิน 80 cm.
  ไม่ใช่เรื่องยาก











        – ทราบมาว่าได้เดินทางไปคัดเลือกปลาที่ฟาร์มซาไกด้วย
ตัวเอง  ช่วยเล่าประสบการณ์ที่ไปฟาร์มซาไกให้ฟังด้วยครับ
        คุณป -
ใช่ครับผมเองได้ไปที่ฟาร์ม Sakai เมื่อปลายปีที่
แล้ว  ซึ่งผู้ที่ชวนไปก็คือพี่โฟล์คและคุณ เคนไทย-นิปปอน  จาก
การที่ได้ไปฟาร์ม Sakai ผมประทับใจกับขนาดของฟาร์มซึ่ง
กว้างใหญ่อย่างไม่น่าเชื่อ  จำนวนปลามีมากมหาศาลตั้งแต่ไซส์
10 - over 80 cm  ได้เห็นปลาระดับท็อปๆ หลายตัวของลูก
ค้าที่จะเตรียมส่งประกวด ในงาน ZNA  All Japan ที่เมือง
ฮิโรชิม่า
        ในฟาร์มมีระบบการจัดการสุดยอดเทคโนโลยีที่ใช้ไฮเทค
มากไม่ว่าจะเป็นเครื่องฮีตเตอร์  ที่ตั้งอุณหภูมิให้น้ำอุ่นอยู่ตลอด
เวลาเพื่อใช้ในการขุนปลาในฤดูหนาว   ระบบการเติมอากาศลง
ในบ่อ  หลังคากรีนเฮ้าท์สามารถปรับควบคุมแสงได้  เป็นต้น
        และที่ประทับใจอีกอย่างหนึ่งในการไปฟาร์ม Sakai ใน
ครั้งนี้   คือการต้องรับที่อบอุ่นของฟาร์ม  โดย Mr. Kentaro
รวมทั้งสตาฟของฟาร์มทุกคน  ซึ่งได้ให้การต้อนรับเราอย่างดี
เยี่ยม  ตลอดระยะเวลาที่อยู่ 4 วัน
       ไปครั้งนี้ผมเองได้ปลากลับมา 4 ตัว โดยฝากเอาไว้ให้ทาง
ฟาร์มเลี้ยงให้อีก 1 ปี 2 ตัว ส่วนอีก 2 ตัวผมได้ฝากให้คุณเคน
นำกลับมาเมืองไทยแล้ว
       
- ได้รับคำแนะนำหรือเทคนิคต่างๆ การเลี้ยงปลาจากใคร
บ้างครับ
        คุณปู –
ในเรื่องเทคนิคการเลี้ยงปลานั้น  ผมได้รับความรู้
มาจากหลายๆ ท่าน   แต่ผู้ที่ให้ความรู้ในการเลี้ยงตลอดจนเทค
นิคต่างๆ อย่างมากมาย  ผู้นั่นก็คือพี่โฟล์ค  ผู้ที่ประความสำเร็จ
มากที่สุดในการเลี้ยงปลาคาร์พ  ผมได้เทคนิคหลายอย่างจากพี่
โฟล์ค   ไม่ว่าจะเป็นการเลือกปลา  การรักษาโรค  การเตรียมตัว
ก่อนการประกวดและอีกหลายอย่าง
       
– ปีหน้าจะไปร่วมงานประกวดที่งาน  All Japan ด้วย
หรือไม่
        คุณปู –
คงต้องดูความพร้อมของปลาที่มีอยู่ก่อนว่าพร้อม
ที่จะส่งประกวดหรือไม่ ณ เวลานั้นครับ
       
– ทราบมาว่าในการประกวดปลาคาร์พที่เมืองไทย  ที่จัด
ขึ้นล่าสุด  คุณปูเป็นเจ้าของรางวัลแกรนด์แชมเปี้ยน
        คุณปู -
สำหรับงานประกวดครั้งล่าสุดที่ผ่านมา จัดขึ้นใน
ในนามของ ZNA – KKST  Young Koi Show  ครั้งที่ 1
โดยชมรม The Koi  Keeper  Society  of  Thailand
( KKST) ได้รับเกียรติให้เข้าร่วมเป็น Chapter และเป็นส่วน
หนึ่งของสมาคม ZNA  อย่างเป็นทางการ   เนื่องด้วย KKST
และ ZNA  มีวัตถุประสงค์และแนวทางที่สอดคล้องกัน
        การที่ได้เข้าร่วมครั้งนี้   ทำให้เราสามารถดำเนินกิจกรรม
ต่างๆ ในนามของ ZNA   ไม่ว่าจะเป็นการได้รับการสนับสนุน
ในการงานประกวด  ZNA  Koi show  ในประเทศไทยหรือ
กิจกรรมอื่นๆ ซึ่งจะเป็นอีกโฉมหน้าหนึ่งในวงการปลาคาร์พใน
บ้านเรา โดย KKST จะเป็นสื่อกลางช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยน
ข้อมูลข่าวสารระหว่างนักเลี้ยงในเครือข่ายของ ZNA  ทั่วโลก
การยกระดับการประกวดปลาในเมืองไทย ให้เป็นที่ยอมรับและ
เป็นสากลมากขึ้น    และนำข้อมูลข่าวสารของวงการปลาคาร์พ
บ้านเราออกไปสู่สายตานักเลี้ยงประเทศอื่นๆ ทั่วโลก  นี่คือที่มา
ของงานประกวดในครั้งนี้
        ผมเองเป็นสมาชิกคนหนึ่งของชมรม KKST  จึงส่งปลา
เข้าร่วมประกวดในครั้งนี้ด้วยเพราะงานนี้จัดขึ้นเพื่อผู้เลี้ยงเท่า
นั้น  ผมเองก็เป็นผู้เลี้ยงคนหนึ่งที่มีความหลงใหลในปลาคาร์พ
ปลาที่ได้รางวัลแกรนด์แชมเปี้ยนครั้งนี้  เป็นลูกของ popeye
โชว่าสายดังของ Sakai ตอนที่ผมได้เห็นครั้งแรกตอนนั้นยัง
เป็น nisai เข้า sansai  เมื่อผมได้ดูแล้วก็ชอบทันทีเพราะมั่น
ใจในสายของ popeye  อีกทั้งรูปร่างโครงสร้างรายละเอียด
ต่างๆ นั้น  ใกล้เคียงกับโคฮากุมาก
        รางวัล Grand Champion  ที่ได้รับนั้นเกินความคาด
หมายของผมมาก  เพราะปลาตัวที่ผมแอบหวังลึกๆ ว่าน่าจะได้
รางวัลเป็นโชว่าอีกตัวหนึ่ง  เป็นตัวที่ผมฝากคุณเคนนำมาจากญี่
ปุ่นเพื่อลงประกวดในงานนี้โดยเฉพาะ    แต่เมื่อมาถึงเมืองไทย
มันเกิดไข่อยู่ในถุง  ทางกรรมการจึงตัดสิทธ์ออกจึงทำให้โชว่า
ลูก popeye ที่มีความพร้อม ณ เวลานั้นได้ตำแหน่ง Grand
Champion  ไปครอง
        
- อนาคตจะส่งปลาตัวนี้ลงประกวดอีกหรือไม่
        คุณปู -
ต้องรอดูการพัฒนาของปลาตัวนี้ก่อนครับ
        
- ทราบมาว่ากำลังสร้างบ่อใหม่ใช่ไหมครับ
        คุณปู –
เมื่อกลับมาจากญี่ปุ่น  ผมเองก็ได้ตั้งใจไว้ว่าจะทำ
บ่อใหม่ให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม  เพื่อต้องการเลี้ยงปลาให้ได้ไซส์จัม
โบ้    ตอนแรกคิดว่าจะทำขนาด 150 ตัน   แต่เนื่องจากเสาเข็ม
บ้านที่ตอกเอาไว้แล้วบังคับให้เลือกระหว่างขนาด 279 ตัน  กับ
ขนาด 212 ตัน  ผมจึงเลือกที่จะทำบ่อ 212 ตัน  เพื่อพื้นที่ส่วน
ที่เหลือลูกของผมจะได้เอาไว้วิ่งเล่นได้
        สรุปขนาดของบ่อคือ  กว้าง 6  ยาว 16  ลึก 2.3 ม. ตั้งใจ
ใจว่าบ่อนี้น่าจะเลี้ยงปลาไม่น่าเกิน 20 ตัวตาม concept เลี้ยง
น้อยๆ แต่ได้คุณภาพ
       
- สุดท้ายช่วยบอกเทคนิคการเลี้ยงปลาให้ได้ดีในสไตล์คุณ
ปูด้วยครับ
        คุณปู -
สำหรับตัวผมเองผมคิดว่า“เทคนิคที่ดีที่สุดในการ
เลี้ยงปลาคาร์พ  คือดูแลเอาใจใส่ปลาที่เลี้ยงให้ดีที่สุด”  แค่นี้เอง
ครับ      
<< end >>







<<< กรุณาชมเวบนี้ด้วย Explorer Browser พบข้อผิดพลาด - ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับปลาคาร์พเพิ่มเติม โทร 01-4598555 นายรัน >>>