|
|

|
วงการปลาคาร์พในบ้านเราเปรียบได้ดั่งดอกไม้
มีจุดเริ่มต้น
เบ่งบาน สุดท้ายร่วงโรย
แล้วย้อนกลับมายังจุด
เริ่มต้นเพื่อไปสู่จุดท้าย
ครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างไม่มีสิ้นสุด
เป็นไปตามกฏเกณฑ์วัฏจักรแห่งมิติกาลเวลา
ณ.วันนี้ดอก
ไม้ดอกงามดอกหนึ่ง
ได้ถือกำเนิดมาประดับวงการปลาคาร์พในบ้านเรา
ตามผมมาสิครับ...
ผมจะพาท่านเข้ามาสัมผัสกับบ่อปลาคาร์พบ่อนี้
บ่อที่มีระ
บบควบคุมอันเป็นมิติใหม่ของวงการ
ถึงขนาดบาง
ท่านที่ได้เข้าไปสัมผัส ได้ให้คำการันตีว่าเป็นบ่อที่มีระบบควบคุมที่ดีที่สุด
อาจจะดีที่สุดเท่าที่เคยปรากฏมา
แต่นั่น
หาได้ใช่สาระสำคัญที่ต้องนำมาเอ่ยอ้าง องค์ประกอบแนวความคิด
ต่างๆ ที่
คุณบุญยงค์
ฉัตรอนันทเวช
ได้ทุ่มเทรัง
สรรค์ให้ดอกไม้ดอกงามนี้กำเนิดขึ้นมา
เป็นหน้าเป็นตาได้อวดศักดิ์ศรีอวดศักยภาพวงการปลาคาร์พบ้านเรา
นี่ต่าง
หากเล่า...
เป็นเรื่องที่น่าเรียนรู้

|
-
โดยส่วนตัวแล้วพี่ประกอบอาชีพอะไรครับ
ผมเห็นระ
บบบ่อปลาคาร์พของพี่แล้วมหัสจรรย์จริงๆ
พี่ประกอบอาชีพ
สร้าง
บ่อปลาคาร์พหรือครับ?
ปล่าวครับ
อาชีพผมไม่ได้เกี่ยวข้องกับปลาคาร์พเลย อา
ชีพของผมเป็นงานระบบทางวิศวกรรม
แล้วก็มีงานรับเหมา
ก่อสร้างด้วย ปัจจุบันนี้เป็นบริษัทมหาชน
ชื่อพาวเวอร์ไลน์
เอ็นจิเนียริ่ง
จำกัด (มหาชน) ถือเป็นบริษัทอันดับหนึ่งของคน
ไทยที่รับเหมางานระบบ
เช่นระบบไฟฟ้า
ระบบสุขาภิบาล
ระบบดับเพลิง
ระบบแอร์
และระบบวางท่อในโรงงานอุตสา
หกรรม
ตอนนี้บริษัทฯ
มีงานโครง
การใหญ่ๆ หลายโครงการ
|
|
|
-
จุดเริ่มต้นความเป็นมาของการเลี้ยงปลาคาร์พล่ะครับ?
สมัยก่อนผมชอบเลี้ยงปลา
พอเพื่อนฝูงชวนไปดูปลาก็ไปกับ
กับเขา ในตอนนั้นผมก็เลี้ยง
แต่ไม่ได้ศึกษาอย่างจริงจัง
เลี้ยงแบบ
แบบชาวบ้านๆ
น่ะครับ
พอมาตอนหลังผมก็มาสร้างบ้านที่นี่ ซึ่งมี
มีเพื่อนที่เลี้ยงปลาคาร์พอยู่ก่อนแล้ว
ชวนไปดูบ่อปลาคาร์พที่บ้าน
ที่บ้านเขาบ้าง
ชวนไปฟาร์มปลาคาร์พที่เค้าไปซื้อบ้าง
พอผมไป
เห็นแล้วก็ เอ่อ ชอบนะเกิดความชอบขึ้นมา
เห็นปลาคาร์พแล้วชอบ
เลยเกิดแนวความคิดที่จะเลี้ยง ก็เริ่มต้นศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล
คือนิ
สัยผมเวลาที่จะทำอะไรสักอย่าง
ผมจะเริ่มต้นศึกษาถึงรายละเอียด
ต่างๆ
แล้วก็ไปดูของจริง ถามคนที่มีประสบการณ์
เพื่อจะนำมาวิ
เคราะห์
นำมาเป็นแนวความคิด
จุดเริ่มต้นก็คงมาจากเพื่อน
|
 |
|
|
-
และนี่เป็นที่มาของการเลือกใช้ระบบ
Magnetic Relay แทนการใช้ PLC.
( Programable logic controller) ใช่ไหมครับ?
* PLC
หมายถึงอุปกรณ์
อิเลคโทรนิคส์ที่ใช้ควบคุม
โดยสามารถกำหนดเงื่อนไขและขั้นตอนการทำงานทางโปรแกรมได้*
ใช่ครับ
เนื่องจากว่าผมเองคลุกคลีกับงานคอนโทรลมาตลอด
สำหรับ PLC.
มันมักจะมีปัญหากับระบบไฟฟ้า
คือถ้ามีอะไรขัดข้องกับระบบไฟฟ้าขึ้นมา
หรือตัว
PLC.
เสียขึ้นมาเนี่ย
โอ้โฮ..แย่เลยปัญหาใหญ่
เพราะว่า PLC. ทำงานโดยที่เราป้อนคำสั่ง
บูลีน ( Boolean ) ซึ่งเป็นภาษาที่
PLC. เข้าใจ
แล้วการควบคุมระบบที่
ซับซ้อนขนาดนี้ เราต้องเขียนภาษาบูลีนไม่รู้กี่แอดเดรส
กว่าจะคุมระบบได้ทั้งหมด
คงจะเยอะมากแน่ๆ
ที่นี้ถ้า PLC. เกิดเสียขึ้นมาล่ะทุกอย่างจบกันเลย
โดยเฉพาะระ
บบของผม
มันเป็นระบบซีเควน ( Sequence
Control ) ทุกอย่างทำงานต่อเนื่องเป็น
loop ถึงกันหมด ถ้า PLC.
เสียขึ้นมา ก็หมายถึง PLC.
ไม่สามารถรับสัญ
ญาณ input
จาก อุปกรณ์เซ็นเซอร์
และส่งสัญญาน
output ออกไปสั่งให้อุปกรณ์ต่างๆ
ให้ทำงานได้
แล้วยังไง..ก็พังทั้งระบบ
ถ้าพังทั้งระบบอย่างนี้ก็แย่
อีกอย่างผมมองว่าการใช้
PLC. มันมีข้อเสียตรงที่ว่ารุ่นนี้ปีนี้เราซื้อมาใช้
แต่พอล่วงไปวันข้างหน้าเกิดตกรุ่นไปแล้ว
หาซื้อมาทดแทนไม่ได้อะไรจะเกิดขึ้น
เราก็
ต้องมาปรับปรุงหรืออัพเกรดมันขึ้นไปอีก
ซึ่งมันก็ยุ่งยากและเป็นปัญหาพอสมควร
คือระบบการทำงานมันบอบบางกว่าระบบ
Magnetic ระบบ Magnetic มันเป็น
ระบบพื้นๆ
ถ้าอะไรเสียก็ซ่อมเองได้
ถ้าเสียก็ไปซื้อที่ร้านขายอุปกรณ์ไฟฟ้า Relay
ตัวนึง ตก 50-60 บาท แล้วก็มาเปลี่ยนเองได้
หรือว่า Show lamp เสีย
เราก็ซื้อ
มาเปลี่ยนแม้กระทั่งตัว
Magnetic เองก็เหมือนกัน
อีกอย่างมันเป็นวงจรที่ไม่สลับซับซ้อนเกินไปนัก
เป็นวงจรเบสิคๆ
เสียตรงไหนก็มองออกเสียตรงไหนก็รู้
แต่ถ้าเป็น
PLC.
ถ้ามันเกิดรวนขึ้นมาวิเคราะห์ยาก
ยิ่งเป็นวงจรที่มี input-output
มากๆ ประกอบกันอย่างนี้ต้องใช้เวลาหานานมาก
และต้องให้ผู้ที่มีความรู้มาดูด้วย
|
|


|
-
อุปกรณ์ทุกอย่างนี่ใช้อย่างดี
หรือว่าทั่วไปไม่ได้เน้นอะไรเป็นพิเศษ?
สำหรับแนวทางการใช้อุปกรณ์ต่างๆ
เนี่ย
ผมว่าสิ่งที่สำคัญคือต้องศึกษารายละเอียด
ของตัวอุปกรณ์นั้นอย่าง
ถี่ถ้วน
ดูสิว่าความต้องการของบ่อเรา
เหมาะสมกับอุปกรณ์ขนาดไหนเท่าไหร่
เพราะว่าบางครั้งเวลาเรา
สร้างบ่อ
ขึ้นมาบ่อนึง พอเสร็จ
แล้วก็ไปถามคนโน้นทีคนนี้ทีแล้วก็ไปซื้อปั้ม
พอเจอคนขายคนขายก็บอกว่า
เอ้า.. คุณเอาปั้มตัวนี้
ไปใช้
คนเค้าใช้กันเต็ม
เลย
ซึ่งในความเป็นจริงมันอาจไม่ใช่
เพราะว่าบ่อปลาแต่ละบ่อ ปริมาณน้ำในแต่ละบ่อไม่เท่า
กัน
จะเอามาเป็นบรรทัดฐานกับ
บ่อเราไม่ได้
เราต้องรู้ในส่วนที่เป็นของเราก่อนแล้ว
จึงเลือกใช้ให้เหมาะสม
จะสัง
เกตุว่าบางทีบางครั้งเราก็ใช้ปั้มที่ใหญ่ไป
บาง
ครั้งก็ใช้ปั้มที่เล็กไป
ซึ่งปั้มใหญ่มันก็กินไฟ
คืออะไรๆ
มันควรที่จะอยู่
ที่ความเหมาะสม มันต้องมีการคำนวณครับ
มันก็จะทำ
ให้เราประหยัด
อย่างปั้มลมเราเปิดกัน 24 ชม. ก็ไม่รู้ว่ามันจะเสียเมื่อไหร่
ถ้าวันไหนมันเกิดเสียขึ้นมา
ถ้าเป็นตอนกลางวันหรือ
จังหวะที่
เรามาเห็นก็ไม่เป็นไร
แต่ถ้าเกิดเสียตอนที่เรานอนก็แย่เหมือนกัน
ตื่นขึ้นมาแล้วเห็นปลาตายมันก็ไม่ดี
ก็ต้อง
เลือกให้เหมาะสมกับ
การทำงาน
ต้องมีการพักบ้างสลับเครื่องกันทำบ้าง
ทำอยู่เครื่องเดียวตลอดเวลามันก็พังเร็ว
ซึ่ง
ต้อพึ่งระบบควบคุมที่ดี
ให้มันสามารถทำงานแบบอัตโนมัติ โดยที่เราไม่ต้องมาคอยเปิดปิดสวิทช์สลับสับปลี่ยนเอง
-
เรื่องงานก่อสร้าง
พี่ลงมือเองหรือพี่ใช้ผู้รับเหมาครับ?
บ่อนี้ในการวางคอนเซ็พดีไซน์ตอนแรก
ผมต้องการทำบ่อที่เป็นระบบนิเวศน์จริงๆ สังเกตุดูจะเห็นต้นไม้ใหญ่
และก็ทำน้ำตกเพื่อเติมอากาศให้กับน้ำ
เป็นการเลียนแบบธรรมชาติ
น้ำตกยังทำให้เกิดกระแสน้ำทำให้ปลาได้เกิดการ
ว่าย เมื่อปลาได้ว่ายออก
กำลังกาย
ตรงจุดนี้จะส่งผลไปยังเรื่องโครงสร้งปลา
ปลาจะโครงสร้างดีมากๆ
ใหญ่ ล่ำ โต
เร็ว
แล้วก็เรื่องของศาลาส่วนหนึ่งดีไซน์ไว้เพื่อเป็นร่มเงาของปลา
อีกส่วนหนึ่งเอาไว้เป็นมุมพักผ่อนของผมเอง
ผม
ตั้งชื่อศาลานี้ว่า
ศาลาชมปลา
ตอนนี้ลงต้นไม้ไปได้ 5
เดือน
ซึ่งอีกประมาณว่าใช้ระยะเวลาสักอีกหนึ่งปี
มันจะร่ม
รื่นมาก
ช่วยพรางแสงแดด
แดดจะส่องลงมาได้ไม่เต็มที่
ทำให้ระบบนิเวศน์มันดี
และก็เป็นการรักษาอุณหภูมิของ
น้ำ
แทนที่จะต้องไปใช้เครื่องทำความเย็น
|
|
|
<<<
กรุณาชมเวบนี้ด้วย
Explorer
Browser ความละเอียดหน้าจอ
800X600
>>>
|